วังบัวบาน...อีกตำนานรักเศร้าสาวเชียงใหม่ - วังบัวบาน...อีกตำนานรักเศร้าสาวเชียงใหม่ นิยาย วังบัวบาน...อีกตำนานรักเศร้าสาวเชียงใหม่ : Dek-D.com - Writer

    วังบัวบาน...อีกตำนานรักเศร้าสาวเชียงใหม่

    ตำนานนิยายรักอมตะ ที่ยังคงมีที่มาอันหลากหลาย แต่ยังคงติดตรึงใจชาวล้านนามาจนถึงปัจจุบันนี้

    ผู้เข้าชมรวม

    5,766

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    13

    ผู้เข้าชมรวม


    5.76K

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  รักดราม่า
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  20 ม.ค. 54 / 12:12 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      วังบัวบาน เป็นชื่อวังน้ำที่อยู่เบื้องล่างชะง่อนผาสูงบริเวณเหนือน้ำตกห้วยแก้ว ซึ่งอยู่ในเขตตำบลสุเทพ อำเภอเมือง เชียงใหม่
      วังน้ำนี้เดิมเรียกว่า "วังคูลวา" หรือ "วังกุลา" ด้วยมีเรื่องเล่ามาก่อนว่ามี "คูลวา-กุลา"ซึ่งหมายถึงแขกคนหนึ่งพลัดตกลงไปตายในวังน้ำแห่งนี้ คำว่า "คูลวา-กุลา" ในภาษาล้านนาหมายถึงแขกหรือฝรั่งชาวต่างชาติซึ่งถือว่าไม่เป็นที่พึงต้อนรับ วังน้ำที่เกิดเหตุจึงได้ชื่อดังกล่าว ทั้งนี้ บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ นักเขียนสารคดีเชิงบันทึกเหตุการณ์กล่าวไว้ว่ามีการเปลี่ยนชื่อ เป็น "วังบัวบาน" เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๗ โดยเหตุที่มีหญิงชื่อ "บัวบาน" ตกลงไปตายในวังน้ำนี้อีก วังน้ำอาถรรพณ์นี้จึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อว่า "วังบัวบาน"
       เรื่องราวการตายของบัวบานมีการโจษจันกันอยู่สองกระแส บ้างเชื่อว่าเป็นการฆ่าตัวตาย บ้างว่าเป็นเพราะหญิงคนงามดังกล่าว พลัดตกโดยอุบัติเหตุ แต่ก็มีสาเหตุมาจากเรื่องชู้สาว
      ากการให้สัมภาษณ์ของนายศิริพงษ์ ศรีโกศัย(นักจัดรายการวิทยุที่ใช้นามแฝงว่า"ย่าบุญ" เมื่อ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๐) เล่าว่าที่ตั้งบ้านของบัวบาน ปัจจุบันอยู่ฟากถนนตรงกันข้ามกับอาคารอำนวยการหลังเก่าของโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่ มีอาชีพเป็นครูสอนในโรงเรียนดาราวิทยาลัย โรงเรียนซินเซิง โรงเรียนฮั่วเคี้ยวและโรงเรียนฮั่วเอง ครูบัวบานมีคนรักเป็นนายทหารรักษาพระองค์ ต่อมาถูกทหารดังกล่าวสลัดรัก บัวบานจึงเสียใจมากและได้ตัดสินใจฆ่าตัวตายโดยการกระโดดลงไปในวังน้ำแห่งนั้น
      ส่วนเจ้าบุญศรี ณ เชียงใหม่ ให้สัมภาษณ์เมื่อ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๑ ว่า ครูบัวบานมีสถานที่อยู่ตรงกันกับที่กล่าวมาแล้ว แต่ให้ข้อมูลเพิ่มว่าครูบัวบานเป็นคนสวยจนเป็นที่เล่าลือกันทั่วไป ในช่วงที่เกิดเหตุนั้นอยู่ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ.๒๔๘๒-๒๔๘๘) ครูบัวบานคนสวยเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนวัดฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง เชียงใหม่ ครั้งนั้นได้มีทหารหน่วยราบจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาตั้งอยู่ที่วัดฟ้าฮ่ามด้วย นายร้อยตรีหนุ่มรูปงามในกองทหารนั้นได้พบกับครูบัวบานคนสวยบ่อยครั้งเข้าก็สนิทสนมแล้วกลายเป็นคู่รักและได้เสียกันขึ้น ต่อมานายร้อยตรีผู้นั้นกลับลงไปกรุงเทพฯ ตามคำสั่งพร้อมกับคำสัญญาว่าจะขึ้นมาแต่งงานกับครูบัวบานคนงาม แต่คำสัญญานั้นลงท้ายก็กลายเป็นคำลวงเพราะนายร้อยตรีนั้นมีภรรยาอยู่แล้ว ครูบัวบานรออยู่นานจนผิดสังเกตและเห็นว่าครรภ์โตมากขึ้น เมื่อแน่ใจว่าตนถูกหลอกแน่แล้วจึงตัดสินใจไปกระโดดน้ำตาย

       ในบทความชื่อ "วังบัวบาน"ของสมาน ไชยวัณณ์ ตีพิมพ์ในวารสาร "คนเมือง ฉบับดำหัว" ต้อนรับสงกรานต์ ๒๕๑๑ กล่าวว่าครูบัวบานตายเพราะอุบัติเหตุ โดยอ้างเอาคำสารภาพก่อนตายของอดีตครูประชาบาลคนหนึ่งซึ่งเป็นคนรักของครูบัวบาน ผู้เขียนบทความกล่าวว่าตนรู้จักกับครูบัวบานเป็นอย่างดี และตนมีอายุอ่อนกว่าครูบัวบาน ๘-๙ ปี ครูบัวบานเป็นสมาชิกของตระกูลและครอบครัวของผู้มีชื่อเสียงดี ฐานะดี จบการศึกษาจากโรงเรียนฝรั่งที่มีชื่อในเชียงใหม่ แล้วได้เป็นครูสอนที่โรงเรียนนั้น และครูบัวบานมีความสัมพันธ์ฉันคนรักกับครูประชาบาลคนหนึ่ง
      ผู้เขียนบทความเล่าว่าในขณะที่อดีตครูประชาบาลคนรักเก่าของครูบัวบานป่วยหนักอยู่ในบ้านกลางเมืองเชียงใหม่ วันหนึ่งได้ออกปากเล่าแก่ภรรยา บุตรและญาติสนิทว่าตนเคยมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับครูบัวบาน ทั้งๆ ที่ตนก็มีภรรยาอยู่แล้ว เมื่อครูบัวบานตั้งท้องแล้วก็ได้นัดครูประชาบาลคนรักไปตกลงกันในที่ปลอดคนแห่งหนึ่งบนห้วยแก้ว ครูบัวบานขอให้จัดแต่งงานเสียเพื่อมิให้เป็นที่ละอายแก่ชาวบ้านและเพื่อเห็นแก่ทารกในครรภ์ หลังจากที่ต่างก็ให้เหตุผลกันเป็นเวลานาน ครูประชาบาลก็สรุปว่าตนยังไม่อาจด่วนทำอะไรลงไปได้เพราะมีลูกเมียอยู่แล้ว ครู บัวบานไม่อาจทนฟังต่อไปได้จึงผละจากแล้ววิ่งหนีไปโดยไม่ใส่ใจระมัดระวังในเส้นทาง และได้พลาดตกจากหน้าผาลงสู่ "วังคูลวา-กุลา" และเสียชีวิตโดยไม่อาจช่วยได้ทัน ครูประชาบาลคนนั้นเสียใจเป็นที่สุด ด้วยความตกใจและกลัวโทษ ก็ได้แต่แอบซ่อนตัวกลับลงมาจากห้วยแก้วและไม่ยอมปริปากให้ผู้ใดได้ล่วงรู้
      เมื่อมีคนไปพบศพครูบัวบานแล้ว เรื่องหญิงงามที่ตายในวังน้ำก็ได้กลายเป็นหัวข้อที่กล่าวขานกันทั่วเมือง ผู้เขียนบทความกล่าวว่าด้วยผลกรรมที่ทำให้ครูบัวบานต้องตายนั้น ครั้งหนึ่งได้เกิดพายุใหญ่ในเมืองเชียงใหม่ แรงพายุได้โหมกระหน่ำทำให้มะพร้าวต้นหนึ่งล้มฟาดลงมาทับหลังของครูประชาบาลผู้นั้นจนหลังหักและกลายเป็นอัมพาต เขาจึงลาออกจากราชการมาอยู่กับครอบครัว และยังชีพอยู่ได้ด้วยเงินบำนาญ จนเมื่อล้มป่วยหนักจึงได้ปริปากบอกเรื่องของตนกับครูบัวบาน พร้อมกับย้ำว่าครูบัวบานตายเพราะอุบัติเหตุ มิได้ตั้งใจจะฆ่าตัวตาย

      จากการศึกษาของ สุธาทิพย์ สว่างผล ในวิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาภาษาและวรรณ-กรรมล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.๒๕๓๑ กล่าวว่า ในหนังสือ นิทานพื้นบ้านไทย ของ วสันต์ ปัณฑวงศ์ พ.ศ.๒๕๒๒ กล่าวถึงเรื่องของครูบัวบานในแง่ที่แผกออกไป โดยกล่าวว่า มีปลัดอำเภอหนุ่มรักกับลูกสาวคหบดีชื่อบัวบานและได้หมั้นหมายกันไว้โดยที่ไม่มีผู้ใดขัดข้อง แต่อุปสรรคที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะปลัดอำเภอเป็นทาสการพนันทุกชนิด ทำให้เกิดหนี้สินจนต้องยักยอกเงินของทางราชการไปใช้หนี้และเล่นการพนันด้วย ต่อมาได้ขอเงินจากบัวบานว่าจะไปใช้หนี้ราชการ แต่กลับนำไปเล่นการพนันอีกจนหมด จากนั้น ปลัดอำเภอหนุ่มได้นัดบัวบานไปสารภาพผิดที่หน้าผา แต่ทั้งคู่กลับทะเลาะกันอย่างรุนแรงจนบัวบานทนไม่ได้จึงกระโดดหน้าผาตาย ส่วนปลัดอำเภอหนุ่มทาสพนันนั้นไม่มีการกล่าวถึงอีกว่าได้โดดหน้าผาตามหรือไม่
      และเรื่องของครูบัวบานนี้ สุธาทิพย์ สว่างผล ได้ไปสัมภาษณ์คนที่สนิทกับครอบครัวของครูบัวบานผู้หนึ่งชื่อ นางอรุณ หมู่ละสุคนธ์ ๑๓๐ ถนนแก้วนวรัฐ อ.เมือง เชียงใหม่ เมื่อ ๒๕ มีนาคม ๒๕๓๑ ซึ่งได้ความว่าบัวบานและหนุ่มชาวภาคกลางได้รักกันโดยไม่มีผู้ใดขัดขวาง และบัวบานได้ตายเพียงผู้เดียว เมื่อบัวบานตายแล้วชายหนุ่มก็หายหน้าไป ญาติของบัวบานต่างคิดว่าเป็นการฆาตกรรมแต่ผู้เล่าเห็นว่าน่าจะเป็นอุบัติเหตุ หรือบัวบานอาจกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตายก็ได้
      จากความตายอย่างน่าสะเทือนใจของครูสาวคนงามทำให้มีผู้โจษจันกันอย่างกว้างขวาง ในครั้งนั้น กล่าวกันว่า มีพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งอยู่ที่วัดพระนอนป่าเก็ดถี่ อ.สารภี เชียงใหม่ ได้นำเรื่องนี้มาแต่งเป็นคำกลอนตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ภิกษุรูปนั้นว่ากันว่าใช้นามปากกาว่า "เลิศ ลานนา" ซึ่งก็ว่าเป็นนามปากกาของนักเขียนสารคดีคนสำคัญของเชียงใหม่ชื่อ บุญเลิศ พิงค์พราวดี (บ้างก็ว่าภิกษุที่แต่งกลอนนั้นเป็นพระอยู่ที่วัดดอยสุเทพ) และว่าต่อมา "สนิท ส." (สนิท สิริวิสูตร) ผู้เป็นนักแต่งเพลง ซึ่งมีถิ่นกำเนิดที่เชียงใหม่ก็ได้นำบทกลอนดังกล่าวนั้นมาปรับปรุงขึ้นอีก แล้วแต่งเป็นเพลงชื่อ "วังบัวบาน" โดยมี อรุณ หงสวีณ เป็นผู้แต่งทำนอง และ มัณฑนา โมรากุล เป็นผู้ขับร้อง อัดแผ่นเสียง

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×